MenDetails
  • Home
  • Style
  • Women
  • Life
  • Gadgets
  • Money
  • Video
  • Contact Us
  • User Agreement
  • Advertising
Facebook
Twitter
Instagram
YouTube
MenDetails
MenDetails
  • Home
  • Style
  • Women
  • Life
  • Gadgets
  • Money
  • Video
  • Contact Us
  • Advertising

MDs’ MONEY | ลงทุนกับ ‘กองทุนรวม’ ซื้อแบบ ‘มีปันผล’ หรือ ‘ไม่มีปันผล’ อย่างไหนดีกว่ากัน?

Total
33
Shares
33
0
0

ในโลกของการลงทุนใน กองทุนรวม นั้น ผลตอบแทนที่เราสามารถคาดหวังได้จะแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคา หรืออธิบายง่ายๆคือ “ซื้อถูกๆ แล้วไปขายแพงๆ” อีกแบบหนึ่งคือผลตอบแทนจาก เงินปันผล กองทุนรวม ที่เราเชื่อว่าจะได้รับเป็นงวดๆ ตามแต่นโยบายของแต่ละกองทุนรวม ว่าจะจ่ายหรือไม่? เมื่อไหร่? และอย่างไร?


จ่ายปันผล กับ ไม่จ่ายปันผล ต่างกันอย่างไร?

หลักการของการจ่ายเงินปันผลของกองทุนรวมก็คือ เมื่อกองทุนรวมนำเงินของเราไปลงทุนจนได้ดอกผลกลับมา เขาก็จะเอาดอกผลเหล่านั้นมาจ่ายคืนเป็น “เงินปันผล” แบ่งมาให้ผู้ที่ซื้อกองทุนรวมด้วยเช่นกัน ทำให้เราจะได้รับเงินจำนวนหนึ่งกลับมาเป็นงวดๆ แต่จะมีกองทุนรวมบางกองมีนโยบายไม่จ่ายเงินปันผลเลย อันนี้เขาไม่ได้ขี้เหนียว หรือจะโกงเราแต่อย่างใด แต่กองทุนรวมประเภทนี้เขาเลือกที่จะนำดอกผลเหล่านั้นไป “ลงทุนต่อ” เพื่อคาดหวังให้ผลตอบแทนจากส่วนต่างราคามันเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ แทนที่จะเอามาจ่ายเป็นเงินปันผลให้กับเรานั่นเอง


ซื้อแบบไหนดีกว่ากัน?

นโยบายการลงทุนและฝีมือในการลงทุนของผู้จัดการกองทุนรวม ดูจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อกองทุนรวมในแต่ละครั้ง แต่ถ้าหากเราตั้งสมมติฐานให้ฝีมือของผู้จัดการกองทุนรวมในการหาผลตอบแทนนั้นมี “เท่ากันพอดี” เราควรจะเลือกลงทุนในกองทุนรวมที่จ่ายปันผล หรือไม่จ่ายปันผล เพื่อจะได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าที่สุดกลับมา

น่าสนใจที่คำตอบสุดท้ายของคำถามนี้อยู่ที่เรื่องของ “ภาษี” ที่ทางกรมสรรพากรเรียกเก็บนี่แหละครับ เพราะเงินปันผลทุกงวดที่ทางกองทุนรวมจ่ายออกมานั้น จะถูกกรมสรรพากรเรียกเก็บ “ภาษีหัก ณ ที่จ่าย”​เป็นจำนวน 10% ทุกครั้ง ตัวอย่างเช่น หากกองทุนรวมที่เราลงทุนไว้จ่ายเงินปันผลให้เรา 10,000 บาท เราจะโดนหักภาษีออกไปก่อน 1,000 บาททันที เหลือรับเงินปันผลจริงแค่ 9,000 บาทเท่านั้น

ภาษีจำนวน 1,000 บาทที่ถูกหักออกไป คือเงินที่สรรพากร “ขอเก็บไว้ก่อน” และเราในฐานะนักลงทุนสามารถเลือกที่จะเอารายได้จากเงินปันผลไปรวมเป็นเงินได้ปลายปี เพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และสามารถเรียกขอคืนเงินจำนวน 1,000 บาทนี้กลับมาได้ หากฐานภาษีของเราไม่ถึง 10% เช่น เมื่อยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปีเรียบร้อย ปรากฎว่าเราได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเลย เราก็มีสิทธิที่จะขอคืนเงิน 1,000 บาทที่สรรพากร “ขอเก็บไว้ก่อน” กลับคืนมาได้

แต่ถ้าเรามีรายได้อื่นๆในแต่ละปีค่อนข้างสูง จนมีฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับ 10% ขึ้นไป เราก็ไม่สามารถเรียกเงิน 1,000 บาทที่กรมสรรพากร “ขอเก็บไว้ก่อน” ได้แน่นอน (เสียใจด้วยนะครับ)


เลือกซื้อตามฐานภาษีของตัวเอง

ถ้าเรามีรายได้น้อย ฐานภาษีต่ำมาก หรือไม่ต้องเสียภาษีเลยด้วยซ้ำไปในแต่ละปี การซื้อกองทุนรวมที่จ่ายเงินปันผลอาจเป็นทางเลือกที่ “โอเค” หากเราต้องการรายได้จากเงินปันผลเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ แต่ข้อเสียก็ยังมีนั่นคือเราต้องเสียเวลาเก็บเอกสารต่างๆ เพื่อยื่นเรื่องให้กรมสรรพากรในช่วงปลายปี และรอรับเงินภาษีที่สรรพากร “ขอเก็บไว้ก่อน” คืนมาอีกต่อหนึ่ง ซึ่งถ้าเราขี้เกียจ เราก็ไม่ควรซื้อกองทุนรวมที่จ่ายเงินปันผล

แต่ถ้าเรามีรายได้สูงพอสมควร ฐานภาษีเท่ากับ 10% ขึ้นไป ทำใจไว้เลยว่าเงินปันผลของเราจะหายไป 10% ทุกครั้งแน่นอน ซึ่งถ้าเราทำใจไม่ได้ เราก็ไม่ควรซื้อกองทุนรวมที่จ่ายเงินปันผลเช่นกัน

กลับกันกฎหมายภาษีกองทุนรวมของเมืองไทย (ล่าสุดปี 2562) ช่างไม่ยุติธรรม เพราะไม่มีการเรียกเก็บภาษีของกำไรจาก “ส่วนต่างราคา” ที่เกิดขึ้นจากการ “ซื้อถูกๆ แล้วเอาไปขายแพงๆ” แม้แต่เปอร์เซ็นต์เดียว ดังนั้น การซื้อกองทุนรวมที่ไม่จ่ายเงินปันผลก็คือการเลือกให้ทางกองทุนรวมนำเงิน 10,000 บาท ไป “ลงทุนต่อ” (Reinvest) ตามนโยบายของกองทุนรวม เพื่อหวังให้มูลค่าของกองทุนรวมเติบโตขึ้น หรือ “แพงขึ้นเรื่อยๆ” และเมื่อเราขายออกไป เราก็ได้รับผลตอบแทนที่ควรได้แบบเต็มๆ โดยที่กรมสรรพากรไม่เข้ามาขอแชร์ส่วนแบ่งกับเราแต่อย่างใด


ต่างคนต่างจิตต่างใจ

แน่นอนว่า “ความจำเป็น” และ “เป้าหมายทางการลงทุน” ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป บางคนมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับ “รายได้เป็นงวดๆ” อย่างสม่ำเสมอ และถ้าเงินปันผลจากกองทุนรวมเป็นแหล่งรายได้เดียวที่เรามี เราอาจยินดี (หรือจำเป็น) ที่จะต้องมองข้ามการถูกหักภาษี 10% และความยุ่งยากนิดหน่อยในการเรียกเงินภาษีคืน (ถ้ามันคุ้มที่จะเรียกคืน) ในแต่ละปีก็เป็นได้ กองทุนรวมที่จ่ายเงินปันผลจึงกลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจขึ้นมา


ร็อคแมนชาร์จพลัง ร็อคบัสเตอร์  | credit: game-art-hq.com

แต่ถ้าเราเป็นผู้ชายที่มีเงินได้มากพอสมควร ฐานภาษีเงินได้ในแต่ละปีอยู่ในระดับเท่ากับ 10% ขึ้นไปอยู่แล้ว อีกทั้งไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องรับ เงินปันผล กองทุนรวม มาใช้จ่ายแต่อย่างใด เพราะมีแหล่งรายได้อื่นเพียงพอในการดำรงชีพอยู่แล้ว การเลือกซื้อกองทุนรวมที่ “ไม่จ่ายเงินปันผล” แล้วปล่อยให้ผู้จัดการกองทุนรวม นำดอกผลที่ได้รับไป “ลงทุนต่อไปเรื่อยๆ” เปรียบเสมือนการ “อดเปรี้ยวไว้กินหวาน” หรือเหมือน “ร็อคแมนชาร์จพลัง ร็อคบัสเตอร์” เพื่อเตรียมปลดปล่อยผลตอบแทนลูกใหญ่ทีเดียวในวันที่เราตัดสินใจขายกองทุนรวม ที่สำคัญคือไม่มีใครมาขอแชร์ส่วนแบ่งทีหลังอีกด้วย

เลือกแบบไหน เรามีสิทธิ์ตัดสินใจ ตามความจำเป็นของเราเองครับ

Total
33
Shares
Share 33
Tweet 0
Share 0
Related Topics
  • investment
  • mds' money
  • money
  • Money planning
  • Mutual fund
  • กองทุน
  • กองทุนรวม
  • การบริหารเงิน
  • ซื้อกองทุนรวม
  • ลงทุนกองทุนรวม
  • วางแผนการเงิน
  • เงินปันผล
Previous Article

MDs’ LIFE | Burger with Thai Twist ร้านเบอร์เกอร์ Homemade ณ ร้าน Chunky สุขุมวิท 23

View Post
Next Article

MDs’ WOMEN | ถอดรหัสคุณสมบัติ 4 ข้อ ที่ทำให้กัปตันอเมริกาเป็นฮีโร่ขวัญใจสาวๆ

View Post
You May Also Like
View Post

MDs’ STYLE | แบรนด์ Anderson & Sheppard หนึ่งในห้องเสื้อที่โด่งดังที่สุดในย่าน Savile Row

View Post

MDs’ INTERVIEW | Still working! วลีติดปากของ คุณ Kikuo Ibe กว่าจะมาเป็น G-SHOCK กับการทดสอบความทนทานเกือบ 200 รายการ

View Post

MDs’ LIFE | 5 นิสัยเสีย ที่จริง ๆ แล้วอาจไม่ได้แย่ และดีกับเรามากกว่าที่คิด

View Post

MDs’ LIFE | ชวนมารู้จัก New York City Cocktail เครื่องดื่มที่ถูกตั้งชื่อตามเขตทั้ง 5 ของ NYC

View Post

MDs’ LIFE | ประโยชน์ของการ นอนกลางวัน การงีบสั้น ๆ ให้พร้อมลุยกับกิจกรรมช่วงบ่ายได้ดีขึ้น

View Post

MDs’ LIFE | รู้จัก Apéritif กับ Digestif เครื่องดื่มก่อน – หลังอาหารในวัฒนธรรมการกินของยุโรป

View Post

MDs’ STYLE | แนะนำ 3 ชุด แต่งตัวไปงานแต่งงาน กับงานที่จัดในโรงแรม หรือ Formal Venue

View Post

MDs’ LIFE | Social Media Toxic เมื่อโลกออนไลน์เต็มไปด้วยพิษ ส่งผลกับคนรุ่นใหม่

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Featured
  • MDs’ STYLE | แบรนด์ Anderson & Sheppard หนึ่งในห้องเสื้อที่โด่งดังที่สุดในย่าน Savile Row

    View Post
  • MDs’ INTERVIEW | Still working! วลีติดปากของ คุณ Kikuo Ibe กว่าจะมาเป็น G-SHOCK กับการทดสอบความทนทานเกือบ 200 รายการ

    View Post
  • MDs’ LIFE | 5 นิสัยเสีย ที่จริง ๆ แล้วอาจไม่ได้แย่ และดีกับเรามากกว่าที่คิด

    View Post
  • หนัง LGBTQ+

    MDs’ LIFE | ฉลองเดือน Pride Month กับ 5 หนัง LGBTQ+ ที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางเพศอันสวยงาม

    View Post
  • MDs’ LIFE | ชวนมารู้จัก New York City Cocktail เครื่องดื่มที่ถูกตั้งชื่อตามเขตทั้ง 5 ของ NYC

    View Post
Social Links
hydroflask.co.th
MenDetails Instagram
  • 1
    MDs’ INTRODUCING | Pacsafe กระเป๋ากันขโมย ที่เหมาะสำหรับนักเดินทาง
  • 2
    MDs’ FAVORITES | Doek ‘Oxford’ ECRU จากโรงงานเก่าแก่อันดับ 1 ในญี่ปุ่น ผนวกกับโรงทอที่ดี่สุดแห่ง Ropponmatsu
  • 3
    MenDetails’ Top7 อันดับสุดยอดอาชีพของผู้ชายในสายตาสาวๆ
  • 4
    MDs’ REVIEW | Muper’s Bangkok กับรุ่น Scamper II สี Tank Green
  • 5
    MDs’ GADGETS | Lounge Q ที่ชาร์จ Wireless ปรับได้จาก Moshi กับ Design Minimal ที่น่าใช้งาน
  • 6
    MDs’ FAVORITES | Teva Original Universal MARLED BLUE
  • 7
    MDs’ GROOMING | 5 ข้อที่ ผู้ชาย ต้องทำ ถ้าไม่อยากมองข้ามการ ดูแลมือ และเท้า จนกระทบความสัมพันธ์
  • 8
    MDs’ WATCH | Gérald Genta นักออกแบบ ผู้อยู่เบื้องหลัง นาฬิกา ชื่อดังมากมายบนโลกใบนี้
  • 9
    MDs’ STYLE | เมื่อ Vans ร่วมมือกับ Highsnobiety กับรองเท้าฉลองครบรอบ 50 ปี Old Skool
  • 10
    MEN IN DETAILS | ปวิณ ผลิตเดชตระกูล เพราะสไตล์ เกิดจากประสบการณ์ และการเรียนรู้ผ่านฝีเข็ม และเส้นด้าย
MenDetails
  • Contact Us
  • User Agreement
  • Advertising
BE A BETTER MAN

Input your search keywords and press Enter.