MenDetails
  • Home
  • Style
  • Women
  • Life
  • Gadgets
  • Money
  • Video
  • Contact Us
  • User Agreement
  • Advertising
Facebook
Twitter
Instagram
YouTube
MenDetails
MenDetails
  • Home
  • Style
  • Women
  • Life
  • Gadgets
  • Money
  • Video
  • Contact Us
  • Advertising

MDs’ MONEY | ‘4% Rule’ กฎ 4 เปอร์เซ็นต์ ที่ผู้ชายที่มีความรับผิดชอบเรื่อง “เงิน” ควรรู้

Total
640
Shares
640
0
0

กฎ 4 เปอร์เซ็นต์ หรือ The 4% Rule มีจุดเริ่มต้นมาจาก ผลงานการวิจัยในปี ค.ศ.1994 โดยคุณ William Bengen (วิลเลี่ยม เบ็นเจ้น) นักวางแผนการเงินชาวอเมริกัน ที่มุ่งเน้นศึกษาไปยังประวัติของผลตอบแทนทางด้านการลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกาย้อนหลังไปตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศววรษที่ 1930 ยาวนานหลายสิบปีไปจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1990

กฎ 4% Rule

คุณเบ็นเจ้น ได้สรุปผลงานการวิจัยของเขาว่า โดย MenDetails ขอแปลเป็นภาษาง่าย ๆ ไม่ว่าตลาดการเงินจะประสบกับภาวะวิกฤติกี่รอบต่อกี่รอบก็ตามที แต่ พอร์ตการลงทุนที่มีการวางน้ำหนักการลงทุนที่ดีในระยะยาว จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากเพียงพอที่เราจะสามารถถอนเงินของเราออกมาใช้ได้ประมาณปีละ 4% โดยไม่ทำให้เงินต้นของเรานั้นหมดลง หรือถึงจะลดลงก็จะลดช้ามาก ๆ จนเราตายก่อนที่เงินจะหมด และต่อมาผลงานการวิจัยก็ได้รับการต่อยอดเป็นกฎเกณฑ์การเงินและการลงทุนที่เรียกว่า “4% Rule” หรือ กฎ 4 เปอร์เซ็นต์ นี่แหละครับ


กฎ 4% ทำงานอย่างไร?

MenDetails ขออธิบายเรื่องกฎ 4% ให้เห็นภาพชัดเจนที่สุดด้วยการยกตัวอย่าง ของ “คุณโฟร์” ที่เพิ่งเกษียณอายุการทำงานและจะต้องเริ่มต้นการดำรงชีวิตด้วยการไม่ได้รับ “เงินเดือน” อีกต่อไป โชคยังดีที่คุณโฟร์มี “เงินเก็บออม” เป็นเงินก้อนอยู่ที่ 5 ล้านบาทถ้วน และหากใช้กฎ 4% ข้างต้น คุณโฟร์จะสามารถถอนเงินออกมาใช้ได้ในปีแรก 200,000 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอัตราเงินเฟ้อในปีถัดไป

กฎ 4% Rule

หลังจากถอนเงินก้อนแรก 200,000 บาทออกมาแล้ว เงินส่วนที่เหลืออีก 4.8 ล้านบาท คุณโฟร์ตัดสินใจเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปลงทุนใน กองทุนรวมดัชนีหุ้น และกองทุนรวมตราสารหนี้ ที่มีค่าธรรมเนียมการจัดการต่ำมาก ๆ โดยคาดหวังว่าจะได้รับผลตอบแทนรวม (Total Return) จากกองทุนรวม เฉลี่ยที่ 7% ทบต้นต่อปีในระยะยาวถึงยาวมาก

ปีต่อมา คุณโฟร์ ก็ถอนเงินมาใช้จ่ายอีกครั้ง ด้วยการขายกองทุนรวมเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท แต่เพิ่มอัตราเงินเฟ้อลงไปอีก 3% ซึ่งเท่ากับ 6,000 บาท รวมเป็นเงินที่คุณโฟร์ถอนออกมารอบนี้ 206,000 บาท

และในปีต่อมา คุณโฟร์ ก็จะขายกองทุนเพื่อถอนเงินมาใช้จ่ายได้อีก 206,000 บาท บวกกับเรตอัตราเงินเฟ้ออีก 3% รวมเป็นเงิน 212,180 บาท และจะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ โดย MenDetails ได้สรุปตัวเลขทั้งหมดให้ดูตามตารางด้านล่างนี้ครับ

Year Money You Still Have Withdraw
1                5,000,000.00        200,000.00
2                5,136,000.00        206,000.00
3                5,275,100.00        212,180.00
4                5,417,324.40        218,545.40
5                5,562,693.53        225,101.76
6                5,711,223.19        231,854.81
7                5,862,924.16        238,810.46
8                6,017,801.66        245,974.77
9                6,175,854.77        253,354.02
10                6,337,075.81        260,954.64
11                6,501,449.65        268,783.28
12                6,668,953.03        276,846.77
13                6,839,553.69        285,152.18
14                7,013,209.62        293,706.74
15                7,189,868.08        302,517.94
16                7,369,464.64        311,593.48
17                7,551,922.14        320,941.29
18                7,737,149.51        330,569.53
19                7,925,040.58        340,486.61
20                8,115,472.75        350,701.21
21                8,308,305.54        361,222.25
22                8,503,379.13        372,058.91
23                8,700,512.63        383,220.68
24                8,899,502.38        394,717.30
25                9,100,120.04        406,558.82
26                9,302,110.50        418,755.59
27                9,505,189.76        431,318.25
28                9,709,042.51        444,257.80
29                9,913,319.64        457,585.54
30              10,117,635.49        471,313.10
31              10,321,564.96        485,452.49
32              10,524,640.33        500,016.07
33              10,726,347.96        515,016.55
34              10,926,124.61        530,467.05
35              11,123,353.59        546,381.06
36              11,317,360.61        562,772.49
37              11,507,409.29        579,655.67
38              11,692,696.38        597,045.34
39              11,872,346.61        614,956.70
40              12,045,407.21        633,405.40
41              12,210,841.94        652,407.56
42              12,367,524.79        671,979.79
43              12,514,233.16        692,139.18
44              12,649,640.56        712,903.35
45              12,772,308.81        734,290.45
46              12,880,679.64        756,319.17
47              12,973,065.70        779,008.74
48              13,047,640.95        802,379.01
49              13,102,430.28        826,450.38
50              13,135,298.49        851,243.89
51              13,143,938.43        876,781.20
52              13,125,858.23        903,084.64
53              13,078,367.74        930,177.18
54              12,998,563.90        958,082.49
55              12,883,315.11        986,824.97
56              12,729,244.45    1,016,429.72
57              12,532,711.76    1,046,922.61
58              12,289,794.39    1,078,330.29
59              11,996,266.59    1,110,680.20
60              11,647,577.44    1,144,000.60
61              11,238,827.21    1,178,320.62
62              10,764,742.06    1,213,670.24
63              10,219,646.84    1,250,080.35
64                9,597,436.15    1,287,582.76
65                8,891,543.13    1,326,210.24
66                8,094,906.19    1,365,996.55
67                7,199,933.32    1,406,976.44
68                6,198,463.86    1,449,185.74
69                5,081,727.59    1,492,661.31
70                3,840,300.92    1,537,441.15
71                2,464,059.96    1,583,564.38
72                   942,130.27    1,631,071.31
73                  (737,166.92)    1,680,003.45

ปีที่ 1 คือปีแรกที่คุณโฟร์ “เกษียณ” โดยไม่ได้รับเงินเดือนจากการทำงานประจำอีกต่อไป แต่ด้วยเงินจำนวน 5 ล้านบาทที่ตัวเองเก็บออมไว้ ทำให้คุณโฟร์ใช้กฎ 4% ถอนเงินออกมาใช้จ่ายที่ 200,000 บาทต่อปี และบวกเงินเฟ้อไปเรื่อย ๆ ทุกปี แม้เป็นเงินที่ไม่ได้มากมายถึงขั้นเป็นคนร่ำรวย แต่หากรู้จักใช้อย่างประหยัด เงินจำนวนนี้ก็ยังพอให้ใช้จ่ายได้ไม่ลำบากนัก และที่สำคัญก็คือ กฎ 4% Rule จะทำให้เงินต้นของคุณโฟร์ไม่หมดลงง่าย ๆ และจะต้องใช้เวลาถึง 72 ปีหลังเกษียณเลยทีเดียว เงินก้อน 5 ล้านบาทนี้จึงจะหมดลง ซึ่งมนุษย์เราก็คงไม่มีใครมีอายุยืนถึงขั้นนั้นแน่ ๆ เว้นแต่เราจะเกษียณอายุเร็วมากตั้งแต่หนุ่ม ๆ นั่นแหละเราถึงจะมีสิทธิลุ้นที่จะเจอปัญหา “เงินหมดก่อนตาย”

กฎ 4% Rule Retire

ความแตกต่างที่น่ามหัศจรรย์

ความมหัศจรรย์ที่ MenDetails ค้นพบจากการทำแบบจำลองดังกล่าวก็คือ สมมติให้สถานการณ์ของคุณโฟร์เหมือนเดิมทุกอย่าง แตกต่างเพียงอย่างเดียวคือ แทนที่คุณโฟร์จะถอนเงิน 200,000 บาทตั้งแต่วันแรกของปีที่ 1 แต่ให้คุณโฟร์ปล่อยเงิน 5 ล้านบาทไปหาผลตอบแทน 7% ก่อนเป็นเวลา 1 ปี แล้วเริ่มถอนเงิน 200,000 บาทก้อนแรกออกมาใช้ในปลายปีที่ 1 แทน แล้วก็ทำเช่นนี้ซ้ำทุกปีไปเรื่อย ๆ

ความแตกต่างเพียงแค่จุดนี้จุดเดียว กลับทำให้ผลลัพธ์ในระยะยาวต่างกันอย่างมหาศาลเพราะ หากคุณโฟร์เลือกถอนเงินตอนปลายปี เงินก้อน 5 ล้านบาทของคุณโฟร์จะ “ไม่มีวันหมดลง” แถมในสิ้นปีที่ 72 เงินก้อน 5 ล้านบาทจะเติบโตกลายเป็น 43.6 ล้านบาทแทน!

ปัญหาของ กฎ 4%

หลังจากอ่านรายละเอียดของ 4% Rule แล้ว หลายคนคงคิดว่า “เฮ้! ฟังดูดีนี่ แค่เก็บเงินให้ได้สักก้อนหนึ่ง แล้วก็ถอนเงินออกมาปีละ 4% ก็จบแล้ว” ถ้าคุณคิดแบบนั้นก็อย่าเพิ่งวางใจครับ เพราะในกฎเกณฑ์ 4% นี้ยังมีปัญหาที่เราจำเป็นต้องคำนึงถึงและพึงระมัดระวัง

มั่นใจแค่ไหนว่าจะเก็บเงินได้เยอะขนาดนั้น

หากคิดย้อนหลักการ 4% Rule จะพบว่า โจทย์ข้อแรกและสำคัญที่สุดก็คือ เราจะต้องเก็บเงินก้อนให้ได้ 25 เท่าของรายจ่ายต่อปี (หรือ 300 เท่าของรายจ่ายต่อเดือน) ตัวอย่างเช่น หากเราทำบันทึกรายรับรายจ่ายแล้วพบว่าตัวเรามีรายจ่ายประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน หรือราว 360,000 บาทต่อปี เราจะต้องเก็บเงินสำหรับการเกษียณอายุให้ได้ถึง 9 ล้านบาท จึงจะสามารถใช้ “กฎ 4%” ได้อย่างมีประสิทธิภาพหลังจากนั้น ซึ่งผู้ที่จะทำเช่นนั้นได้จะต้องใช้ความพยายาม และมีการวางแผนการเงินที่ดีตั้งแต่อายุยังน้อยมาก

จะหาผลตอบแทนระยะยาวทบต้นต่อปีในระดับสูงได้ที่ไหน

อย่าลืมว่าผลวิจัยของคุณเบ็นเจ้นนั้นอ้างอิงกับผลตอบแทนของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เราคนไทยที่จะใช้ กฎ 4% ได้นั้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารเงินส่วนบุคคลอยู่พอสมควร และจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบอยู่เป็นระยะว่าพอร์ตการลงทุนของเรานั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนรวม (Total Return) ได้ตามเกณฑ์ที่คุณเบ็นเจ้นวิเคราะห์ไว้หรือไม่ ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่าหากพอร์ตการลงทุนของเราทำผลตอบแทนทบต้นต่อปีต่ำเกินไปในระยะยาว การถอนเงินออกมาใช้ตามกฎ 4% Rule จะทำเงินต้นค่อย ๆ หายไปและอาจหมดลงอย่างรวดเร็วโดยที่เราไม่รู้ตัว การลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่าง “หุ้นสามัญ” อาจเป็นหนทางที่สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ย 7% ทบต้นในระยะยาวตามโจทย์ตุ๊กตาในตารางข้างต้นได้ แต่จะมีใคร “กล้าเสี่ยง” นำเงินเก็บเพื่อการเกษียณทั้งหมดไปลงทุนในหุ้นไหม เป็นเรื่องที่น่าคิด และเป็นปัญหาสำคัญของ 4% Rule เช่นกัน

4% Rule รู้เร็ว – ทำไว มีประโยชน์

แม้จะมีปัญหาในตัวเอง แต่ กฎ 4% ถือเป็นกฎเกณฑ์ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทุกคนที่มีความรับผิดชอบเรื่องเงินทองและต้องการวางแผนการเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ การได้รู้ถึงกฎเกณฑ์ข้อนี้ตั้งแต่อายุยังน้อยและค้นหาให้เจอว่าตัวเราเองจำเป็นจะต้องมีเงินลงทุนประมาณเท่าไหร่ในยามที่ถึงวัยเกษียณ เราก็ยิ่งมีเวลามากขึ้นในการเก็บออมเงินและทำให้โอกาสที่จะเก็บออมเงินลงทุนให้ได้ถึงเป้าหมายนั้นมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

MenDetails หวังว่าเมื่อได้อ่านบทความนี้จบแล้ว ผู้อ่านจะย้อนกลับมาดูตัวเราเองว่า รายจ่ายที่จำเป็นของเรานั้น เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ต่อเดือน และ ต่อปี เพื่อค้นหาให้พบว่าเราจำเป็นต้องมีเงินลงทุนประมาณเท่าไหร่สำหรับการนำกฎเกณฑ์ 4% Rule ไปใช้ เพื่อให้เรามีเงินสำหรับการดำรงชีวิตต่อไปได้ ในยามที่เราไม่มีรายได้จากการทำงานไหลเข้าสู่กระเป๋าของเราอีกต่อไปในอนาคต

Total
640
Shares
Share 640
Tweet 0
Share 0
Related Topics
  • 4% Rule
  • financial freedom
  • financial planning
  • FIRE
  • Fire Movement
  • mds' money
  • money
  • กฎ 4 เปอร์เซ็นต์
  • กฎ 4%
  • กฎ 4% Rule
  • การลงทุน
  • การวางแผนการเงิน
  • การเงิน
  • ลงทุน
  • วางแผนการเงิน
  • ออมเงิน
  • เก็บเงิน
  • เกษียณ
  • เงิน
Previous Article

MDs’ REVIEW | รีวิว ตัดกางเกงผู้ชาย ทรงคลาสสิค กับร้าน NOTCH ที่ Gaysorn Village (Part 2)

View Post
Next Article

MDs’ LIFE | เช็คข่าวก่อนแชร์ สิ่งที่ผู้ชายยุคดิจิทัลควรทำ

View Post
You May Also Like
View Post

MDs’ LIFE | กฎพิซซ่า 2 ถาด ของ Jeff Bezos แห่ง Amazon.com ใช้คนเท่าที่จำเป็นในการประชุม

View Post

MDs’ LIFE | ทำความรู้จัก ประเภทราเมง พื้นฐานของญี่ปุ่น มีหน้าตาและรสชาติเป็นอย่างไร

View Post

MDs’ FAVORITES | Columbia Facet รองเท้า สำหรับขาลุย Hiking พร้อมกันน้ำด้วยเทคโนโลยี OutDry

View Post

MDs’ STYLE | 3 วิธี การแต่งตัว ที่ไม่ตามกฏเกณฑ์ แต่ใส่แล้วดูดี ซึ่งเราอยากแนะนำให้รู้จักกันครับ

View Post

MDs’ MONEY | สูตรหา FIRE Number จำนวนเงินที่เราควรมีหลังเกษียณ เพื่อไม่ให้ “เงินหมดก่อนตาย”

View Post

MDs’ GUIDE | รวม Best of 2020 สำหรับผู้ชาย จาก MenDetails

View Post

MDs’ CARS | Mercedes-Benz GLB 200 Progressive รถ SUV สำหรับคนรุ่นใหม่ที่ชอบเดินทาง

View Post

MDs’ REVIEW | เสื้อ Jungle Jacket โดย Ascot Chang กับการสั่งตัดแบบ MTM ที่ The Decorum

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Featured
  • MDs’ LIFE | กฎพิซซ่า 2 ถาด ของ Jeff Bezos แห่ง Amazon.com ใช้คนเท่าที่จำเป็นในการประชุม

    View Post
  • MDs’ LIFE | ทำความรู้จัก ประเภทราเมง พื้นฐานของญี่ปุ่น มีหน้าตาและรสชาติเป็นอย่างไร

    View Post
  • MDs’ FAVORITES | Columbia Facet รองเท้า สำหรับขาลุย Hiking พร้อมกันน้ำด้วยเทคโนโลยี OutDry

    View Post
  • MDs’ STYLE | 3 วิธี การแต่งตัว ที่ไม่ตามกฏเกณฑ์ แต่ใส่แล้วดูดี ซึ่งเราอยากแนะนำให้รู้จักกันครับ

    View Post
  • MDs’ MONEY | สูตรหา FIRE Number จำนวนเงินที่เราควรมีหลังเกษียณ เพื่อไม่ให้ “เงินหมดก่อนตาย”

    View Post
Social Links
Instagram
avatar
mendetails_th
MenDetails.com
17K Followers
Great looking soft square toe from @carminashoemaker whole cut oxford, we love the way it looks but to be honest their last might not fit everybody feet 68 0
One of the most well known shoemaker in Florence, @roberto_ugolini_bespoke_shoes he start his career from shoes repair shop and self-taught to make the bespoke shoes since 1995 71 0
Ryan Gosling in the role of Jared Vennett with his sharp business suit in the movie ‘The Big Short’ (2015) which,  in our opinion, is one of the best movies about investment every guy should see 97 0
Hello there! 295 0
Follow
  • 1
    MenDetails’ Women : วิธีโทรหาสาวๆ (อย่างมีชั้นเชิง)
  • 2
    MDs’ MONEY | ‘Wealth Formula’ วิธี คำนวณหาความมั่งคั่ง ที่เราควรมีในแต่ละช่วงอายุ
  • 3
    MDs’ STYLE | ‘Style Advisor Series’ แนวทางการแต่งกายสไตล์ Classic สำหรับผู้ชาย โดย The Decorum
  • 4
    MDs’ STYLE | 4 เทคนิคสำหรับผู้ชาย โพสท่าถ่ายรูปง่าย ๆ ให้ออกมาดูดี
  • 5
    MDs’ CARS | รู้จักกับ Mercedes-Benz กับ Mercedes-AMG ก่อนไปนั่งเบนซ์รุ่นใหม่ A-Glass และ GLA 200 AMG Dynamic ในงาน MOTOR EXPO 2020
  • 6
    MDs’ STYLE | 7 คำศัพท์ ที่คุณควรรู้ในวงการ แฟชั่น เสื้อผ้า ผู้ชาย Classic Menswear
  • 7
    MDs’ GUIDE | รวม Best of 2020 สำหรับผู้ชาย จาก MenDetails
  • 8
    MDs’ GROOMING | Skincare Routine ดูแลผิว 3 สเต็ปง่าย ๆ ใช้เวลาไม่เกิน 10 นาทีกับ Aesop
  • 9
    MDs’ LIFE | รวม 5 ผู้ชายหน้าอ่อน ที่ทุกคนเห็นตรงกันว่า ดูหนุ่มกว่าอายุจริงเป็น 10 ปี
  • 10
    MDs’ LIFE | แนะนำ 5 เกมเล่นกับเพื่อน แม้ต้องอยู่บ้านก็ยังชวนเพื่อนซี้มาเล่นเกมมัน ๆ ทางออนไลน์ได้เหมือนเดิม
Great looking soft square toe from @carminashoemaker whole cut oxford, we love the way it looks but to be honest their last might not fit everybody feet 68 0
One of the most well known shoemaker in Florence, @roberto_ugolini_bespoke_shoes he start his career from shoes repair shop and self-taught to make the bespoke shoes since 1995 71 0
Ryan Gosling in the role of Jared Vennett with his sharp business suit in the movie ‘The Big Short’ (2015) which,  in our opinion, is one of the best movies about investment every guy should see 97 0
Hello there! 295 0
Welcome to the Modena, Italy 89 0
@vesperbkk is now transform into Café : Vesper’s ‘Caffè Edition’ from cocktail bar to an all-day café serving innovative mocktails and bites - starting serving from today onwards. 70 2
MenDetails
  • Contact Us
  • User Agreement
  • Advertising
BE A BETTER MAN

Input your search keywords and press Enter.