MenDetails
  • Home
  • Style
  • Women
  • Life
  • Gadgets
  • Money
  • Video
  • Contact Us
  • User Agreement
  • Advertising
Facebook
Twitter
Instagram
YouTube
MenDetails
MenDetails
  • Home
  • Style
  • Women
  • Life
  • Gadgets
  • Money
  • Video
  • Contact Us
  • Advertising

MDs’ LIFE | 5 วิธีรับมือกับภาวะ Burnout Syndrome หรือ หมดไฟ ในการทำงาน

Total
97
Shares
97
0
0

เมื่อเดือนที่ผ่านมา อาการ หมดไฟ ในการทำงาน ถูกพูดถึงอย่างมาก เมื่อองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ ภาวะหมดไฟทำงาน หรือ Burnout Syndrome เป็นความผิดปกติชนิดหนึ่งตามที่ระบุไว้ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ICD-11) โดยจะเป็นคู่มือทางการแพทย์สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคซึ่งสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 72 ได้ลงมติรับรองให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวเผยให้เห็นว่า ภาวะหมดไฟ คืออาการป่วยชนิดหนึ่งที่ต้องรับการรักษาทางการแพทย์ เทียบเท่ากับ โรคซึมเศร้า ซึ่งผู้ที่ป่วยจากอาการ หมดไฟทำงาน จะมีอาการทั้ง รู้สึกเหนื่อยล้าไร้เรี่ยวแรงเกิดความรู้สึกลบ หรือขาดความกระตือรือล้นในการทำงานมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไม่สามารถจดจ่อสมาธิต่องานได้เหมือนเคย ต้องฝืนตัวเองให้ทำงานจึงจะทำงานเสร็จได้ หรือต่อให้ทำงานสำเร็จลุล่วงก็ไม่สามารถรู้สึกดีใจพอใจได้ ขณะเดียวกัน ยังเผชิญปัญหากับภาวะอารณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย นอนไม่หลับ และเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย

สำหรับ โรคเบิร์นเอ้าท์ เกิดจากการสั่งสมความเครียดจากการทำงานมาเป็นระยะเวลานาน รวมถึงถูกกดดันจากสังคมในที่ทำงาน ซึ่งแม้จะเป็นปัญหาใหญ่ แต่ก็มีทางแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ในกรณีที่คุณยังมีอาการไม่หนัก หากคิดว่าตัวเองอยู่ในข่ายกำลังจะมี ภาวะหมดไฟ ควรเริ่มปรับสมดุลชีวิต โดยเรามี 5 วิธีรับมือกับภาวะ หมดไฟ ในการทำงาน มาฝากดังนี้


1.หางานอดิเรกทำ

ในส่วนของท่านที่คิดว่ากำลัง หมดไฟ ลองเปลี่ยนโฟกัสจากการทุ่มเททำงานทั้งวันตลอดสัปดาห์ มาทำงานอดิเรกต่างๆ ไม่ว่าจะ อ่านหนังสือ ฟังเพลง ชมภาพยนตร์ ถ่ายภาพ ต่อโมเดล เล่นดนตรี เล่นบอร์ดเกม ฯ อะไรก็ได้ที่คุณชอบ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยลดความเครียดได้อย่างไม่น่าเชื่อ หรือใครคิดไม่ออกว่าจะทำอะไร การออกกำลังกาย เข้ายิม เล่นฟิตเนส ว่ายนํ้า วิ่งในสวนสาธารณะ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ แต่ขอแนะนำว่าถ้าเป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นด้วยจะดีมาก เพราะการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างจะทำให้คุณรู้สึกสบายใจมากกว่าการปลีกตัวเองอยู่คนเดียว


2.จัดตารางการพักผ่อน

พักผ่อน

สิ่งสำคัญที่สุดซึ่งทำให้ร่างกายป่วยก็คือการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีผลวิจัยระบุว่า ผู้ที่นอนไม่พอสะสม ส่งผลเสียต่อสุขภาพพอๆกับการสูบหรี่ติดต่อกันนานๆ ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่คุณต้องจัดตารางการพักผ่อนอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่การไม่เอางานกลับมาทำที่บ้าน ไม่ทำงานดึก โดยพยายามบังคับตัวเองให้นอนหลับ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนในวันหยุดก็หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำ ออกไปพบปะสังสรรค์กับเพื่อน เลิกคิดหรือพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องงาน แล้วเอาเวลามาใส่ใจครอบครัวและตัวเอง เมื่อร่างกายของคุณได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ หลายสิ่งหลายอย่างก็จะดีขึ้นด้วย


3.ใช้วันลาพักร้อนให้หมด

มีผลสำรวจล่าสุดระบุว่า คนไทยติดอันดับประเทศที่คนทำงานใช้วันลาพักร้อนน้อยติดอันดับ Top 10 ของโลก ทั้งที่การลาพักร้อนถือเป็นสิทธิ์พื้นฐานของการทำงาน เพราะวัฒนธรรมการชื่นชมคนทำงานหนัก ทำให้หลายคนเลือกที่จะไม่ใช้วันลาพักร้อนเลยตลอดปี ซึ่งต้องบอกว่าไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเลย ดังนั้นเมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกเบื่อๆกับการทำงาน เริ่มหมดไฟ ไม่กระตือรือร้น ยาขนาดแรกที่คุณมอบให้ตัวเองได้คือ การลาพักร้อน เอาตัวเองให้ออกจากเรื่องงานสักพัก ไม่ว่าจะลาสั้นอย่าง นอนดูหนังอยู่บ้าน ออกไปนั่งอ่านหนังสือร้านกาแฟ เดินช้อปปิ้งในห้อง หรือลายาวไปต่างจังหวัด ต่างประเทศ ก็เป็นเรื่องดีต่อตัวคุณแน่นอน


 

4.เดินทางท่องเที่ยว

สอดคล้องกับข้อด้านบน แต่ไม่เฉพาะวันลาพักร้อน วันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดยาวต่างๆ การเดินทางท่องเที่ยว ออกไปสูดอากาศ รีเฟรชตัวเอง เป็นวิธีการแก้ปัญหา หมดไป โดยช่วยให้คุณลืมความวุ่นวายในที่ทำงานและบรรยากาศในเมืองใหญ่ๆ ใครชอบทะเล มีผลวิจัยระบุว่าการได้ฟังเสียงคลื่นจะทำให้เรารู้สึกดี ใครชอบภูเขา ชาวญี่ปุ่นและชาติตะวันตกเชื่อว่า การได้ใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติสีเขียว จะช่วยบำบัดรักษาร่างกายและจิตใจได้ ขณะที่การเดินทางไกลไปต่างประเทศ ก็ช่วยในเรื่องการฝึกสัญชาตญาณในการเอาตัวรอด จากวัฒนธรรม ภาษา อาหาร และผู้คนที่แตกต่างจากไทย เติมประสบการณ์ใหม่ๆให้กับชีวิต ทำให้ลืมเรื่องงานยุ่งๆไปได้


5.เปลี่ยนตำแหน่ง หรือ ย้ายงาน

หากว่าลองวิธีหลายข้อข้างบนแล้วรู้สึกว่าไม่ดีขึ้น ปัญหาของ ภาวะหมดไฟ จะอยู่ที่งานที่ทำหรือบรรยากาศในที่ทำงาน ถ้าปัญหาอยู่ที่งาน การเปลี่ยนตำแหน่งงาน ย้ายแผนก อาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง เมื่อได้ทำงานใหม่ๆหรืออยู่ในทีมใหม่ๆ จะช่วยให้คุณกลับมารู้สึกตื่นตัวกับการทำงานมากขึ้น แต่หากปัญหาไม่ได้อยู่ที่งาน แต่เป็นที่ทำงาน การย้ายไปทำงานที่ใหม่ ได้เจอหัวหน้างานใหม่ เพื่อนร่วมงานใหม่ๆ อาจทำให้คุณกลับมารู้สึกชอบงานที่คุณทำก็ได้ โดยหากเป็นไปได้ ในกรณที่ย้ายงาน อย่ารีบไปเริ่มทำงานใหม่ทันที พยายามขอเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน เพื่อพักผ่อน ทบทวนตัวเอง และเตรียมตัวสำหรับการเริ่มชีวิตการทำงานครั้งใหม่


หวังว่าวิธีด้านบนจะสามารถช่วยให้ผู้ที่กำลังประปัญหา หมดไฟ ในการทำงาน คลี่คลายอาการดังกล่าว หรือทุเลาปัญหาลงได้ แต่หากว่า โรคเบิร์นเอ้าท์ ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมาก ขอแนะนำให้คุณอย่าลังเลที่จะเข้าไปปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางออกในการรักษาโรคนี้ต่อไป

Total
97
Shares
Share 97
Tweet 0
Share 0
Related Topics
  • Burnout
  • Burnout Syndrome
  • work
  • การทำงาน
  • ทำงาน
  • ภาวะหมดไฟ
  • หมดไฟ
  • โรคเบิร์นเอ้าท์
Previous Article

MDs’ LIFE | 3 สิ่งที่ได้จากงาน Mercedes Driving Events ที่สนาม BIRA CIRCUIT

View Post
Next Article

MDs’ LIFE | เปิดลายแทง SUSHINA ร้านอาหารญี่ปุ่น สุดพรีเมียม ณ ตึก Fortune Town

View Post
You May Also Like
View Post

MDs’ STYLE | แบรนด์ Anderson & Sheppard หนึ่งในห้องเสื้อที่โด่งดังที่สุดในย่าน Savile Row

View Post

MDs’ INTERVIEW | Still working! วลีติดปากของ คุณ Kikuo Ibe กว่าจะมาเป็น G-SHOCK กับการทดสอบความทนทานเกือบ 200 รายการ

View Post

MDs’ LIFE | 5 นิสัยเสีย ที่จริง ๆ แล้วอาจไม่ได้แย่ และดีกับเรามากกว่าที่คิด

หนัง LGBTQ+
View Post

MDs’ LIFE | ฉลองเดือน Pride Month กับ 5 หนัง LGBTQ+ ที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางเพศอันสวยงาม

View Post

MDs’ LIFE | ชวนมารู้จัก New York City Cocktail เครื่องดื่มที่ถูกตั้งชื่อตามเขตทั้ง 5 ของ NYC

View Post

MDs’ LIFE | ประโยชน์ของการ นอนกลางวัน การงีบสั้น ๆ ให้พร้อมลุยกับกิจกรรมช่วงบ่ายได้ดีขึ้น

View Post

MDs’ LIFE | รู้จัก Apéritif กับ Digestif เครื่องดื่มก่อน – หลังอาหารในวัฒนธรรมการกินของยุโรป

View Post

MDs’ STYLE | แนะนำ 3 ชุด แต่งตัวไปงานแต่งงาน กับงานที่จัดในโรงแรม หรือ Formal Venue

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Featured
  • MDs’ STYLE | แบรนด์ Anderson & Sheppard หนึ่งในห้องเสื้อที่โด่งดังที่สุดในย่าน Savile Row

    View Post
  • MDs’ INTERVIEW | Still working! วลีติดปากของ คุณ Kikuo Ibe กว่าจะมาเป็น G-SHOCK กับการทดสอบความทนทานเกือบ 200 รายการ

    View Post
  • MDs’ LIFE | 5 นิสัยเสีย ที่จริง ๆ แล้วอาจไม่ได้แย่ และดีกับเรามากกว่าที่คิด

    View Post
  • หนัง LGBTQ+

    MDs’ LIFE | ฉลองเดือน Pride Month กับ 5 หนัง LGBTQ+ ที่แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางเพศอันสวยงาม

    View Post
  • MDs’ LIFE | ชวนมารู้จัก New York City Cocktail เครื่องดื่มที่ถูกตั้งชื่อตามเขตทั้ง 5 ของ NYC

    View Post
Social Links
hydroflask.co.th
MenDetails Instagram
  • 1
    MDs’ FAVORITES | “I’m BACK” Air Jordan XI ‘Concords’ อีกหนึ่งความยิ่งใหญ่ที่คุณซื้อเก็บได้
  • 2
    MDs’ LIFE | Burger Bro ร้านเบอร์เกอร์ ระดับพรีเมียม เปิด 24 ชั่วโมง กับราคาสบายกระเป๋า
  • 3
    MDs’ FAVORITES | ASICS TIGER x atmos x Solebox อีกหนึ่งงาน Collabs ที่สาย GEL ไม่ควรพลาด
  • 4
    MDs’ STYLE | ‘สายนาฬิกา’ 4 แบบที่ผู้ชายมีสไตล์ควรรู้จัก
  • 5
    MenDetails’ Great Guy : ต้า พาราด็อกซ์
  • 6
    MDs’ CARS | รู้จักกับ Mercedes-Benz กับ Mercedes-AMG ก่อนไปนั่งเบนซ์รุ่นใหม่ A-Glass และ GLA 200 AMG Dynamic ในงาน MOTOR EXPO 2020
  • 7
    MDs’ STYLE | 5 สัญญาณเตือนผู้ชายว่า ‘ถึงเวลา Upgrade สไตล์ของตัวเองได้แล้ว’
  • 8
    MDs’ GUIDE | แต่งตัว 3 สไตล์ง่าย ๆ กับ เสื้อผ้า แบรนด์ Local คุณภาพผ่าน Lazada M-InStyle
  • 9
    MDs’ STYLE | Roberto Ugolini อีกหนึ่งตำนาน Bespoke Shoemaker แห่ง Firenze
  • 10
    MDs’ FAVORITES | Asahi Shoes แบรนด์รองเท้าที่กินตลาด Local ได้เยอะที่สุดในญี่ปุ่น
MenDetails
  • Contact Us
  • User Agreement
  • Advertising
BE A BETTER MAN

Input your search keywords and press Enter.